
ผู้แต่ง/ผู้เรียบเรียง เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway)
อ่านแล่ว 0 คน ให้ดาว 0 คน
(เฉลี่ยจากคนให้ดาวทั้งหมด)
(เฉลี่ยจากคนให้ดาวทั้งหมด)
สารคดียี่สิบเก้าชิ้นแรก แบบฝึกหัดทางวรรณกรรมของนักเขียนหนุ่ม โดย เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway) นี่คือวัตถุดิบชั้นดีที่จะกลายสภาพเป็นงานวรรณกรรมชั้นเลิศ แปลและเรียบเรียงโดยอัศวินทางวรรณกรรม แดนอรัญ แสงทอง
ก่อนอื่น...ลืมภาพของเฮมิงเวย์ นักเขียนผู้เป็นตำนานของวรรณกรรมอเมริกัน ลืมภาพเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ลืมภาพลักษณ์ชายชาตรีอเมริกันคนสุดท้าย...เพราะงานเขียนยี่สิบเก้าชิ้นนี้ใน 'บาย-ไลน์' คุณจะพบอีกด้านหนึ่งของเขา
"...ประสบการณ์จากสงครามทำให้เขาได้เห็นธาตุแท้ของมนุษย์ มันทำให้เขาได้เห็นว่าชีวิตและความตายอยู่ใกล้กันมากเพียงไร มันเป็นความได้เปรียบที่ตอลสตอยได้มาจากสงครามไครเมีย มันเป็นความได้เปรียบที่สตองดาห์ลได้มาจากสงครามของนโปเลียน ความเชื่อมั่นนี้ทำให้เฮมิงเวย์พูดถึงความจริงต่างๆ นานาอย่างขวานผ่าซากโดยปราศจากภาพลวงตาใดๆ..."
บางส่วนจาก บทนำ โดย แดนอรัญ แสงทอง
หลังจากที่เขากลับจากสงคราม บาย-ไลน์ จึงเริ่มก่อร่างสร้างตัว เฮมิงเวย์ได้งานที่ The Toronto Daily Star แบบฝึกหัดทางวรรณกรรมเริ่มต้นที่นี่!!! งานเขียนในหนังสือเล่มนี้ส่อเค้าว่าจะถูกปรับเปลี่ยนโฉมเป็นวรรณกรรมบันลือโลกอยู่รำไร มันแปลงไปเป็นนิยายเรื่อง The Sun Also Rises และ A Farewell to Arms และกลายเป็นสารคดีเล่มเขื่องอย่าง Death in the Afternoon
แม้เฮมิงเวย์จะเผชิญชีวิตโลดโผนตรากตรำ และเห็นว่ากฎเกณฑ์ของสังคมช่างโหดร้ายและหยาบกระด้าง ที่สุดท้ายผู้คนก็เพียงอิงอาศัยกันเพียงชั่วครู่ชั่วยามแต่กลับไม่ไยดีกันอย่างแท้จริง ทว่าเขากลับไม่ได้เอ่ยถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งออกมาอย่างเปิดเผยในสารคดียี่สิบเก้าชิ้นนี้ เฮมิงเวย์เพียงคิดว่า ไม่ต้องกล่าวถึงมัน ปล่อยให้คนอ่านรู้สึกถึงมันเอาเอง
ดังนั้น สิ่งที่เราจะได้เสพจากยี่สิบเก้าเรื่องในหลากหลายฉากของยุโรป จึงดูเสมือนว่าเป็นการเขียนสารคดีธรรมดา แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้ จะเห็นว่า เฮมิงเวย์ไม่เพียงมีพรสวรรค์ของนักข่าวอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเขียนเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น แต่เขายังเป็นนักเขียนที่เก่งกาจและแม่นยำในสิ่งที่เขาเล่า เพราะในงานทุกชิ้นฉายภาพชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งถูกเงาของความรุนแรงและความตายพาดบังอยู่\
- เรื่องราวการสู้วัวที่คล้ายกับละครโศกนาฏกรรมกลับมีแง่มุมของอารมณ์ความรู้สึกมนุษย์
- การเดินทางระหกระเหินของผู้อพยพที่ถ่ายทอดออกมาราวกับพวกเขายืนอยู่ตรงหน้า
- มุสโสลินีที่ดูน่าเกรงขามก็ยังกลายเป็นนักลวงโลกเพราะสายตาอันแหลมคมที่จ้องจับผิดผู้นำคนนี้
- เขาค่อนแคะชีวิตของศิลปินจอมปลอมที่เอาแต่วางมาดอยู่ในร้านกาแฟชื่อดัง
- เรื่องราวของเหล่ากษัตริย์ในยุโรปก็ถูกเหน็บแหนมและตราหน้าอย่างไม่ยี่หระ
- และมีอีก 2-3 ชิ้นที่เล่าเรื่องการตกปลาเทราท์ซึ่งรื่นรมย์ราวกับบทกวีบทหนึ่งเสมือนเป็นการผ่อนพักจากการอ่านเรื่องราวอันเข้มข้น
ซินแคลร์ ลูอิส (Sinclair Lewis) นักเขียนอเมริกันคนแรกที่ได้รางวัลโนเบลชื่นชม 'นักเขียนสองคน' ว่า สร้างงานที่มีพลังรุนแรง และเป็นงานเขียนที่ดีอย่างแท้จริง จนถึงขนาดที่ลูอิสเสียใจที่ตนเองแก่เกินกว่าที่จะทำอย่างเขาได้ โดยทั้งสองคนนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบลเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ วิลเลียม โฟล์คเนอร์ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
"นักเขียนควรจะเขียนอยู่ตลอดเวลา...เหมือนกับว่าถ้าเขียนจบเมื่อใด ก็จะตายลงเมื่อนั้น"เฮมิงเวย์ นักเขียนที่ว่ากันว่าเป็น 'ชายชาตรีอเมริกันคนสุดท้าย' กล่าวไว้
ก่อนอื่น...ลืมภาพของเฮมิงเวย์ นักเขียนผู้เป็นตำนานของวรรณกรรมอเมริกัน ลืมภาพเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ลืมภาพลักษณ์ชายชาตรีอเมริกันคนสุดท้าย...เพราะงานเขียนยี่สิบเก้าชิ้นนี้ใน 'บาย-ไลน์' คุณจะพบอีกด้านหนึ่งของเขา
"...ประสบการณ์จากสงครามทำให้เขาได้เห็นธาตุแท้ของมนุษย์ มันทำให้เขาได้เห็นว่าชีวิตและความตายอยู่ใกล้กันมากเพียงไร มันเป็นความได้เปรียบที่ตอลสตอยได้มาจากสงครามไครเมีย มันเป็นความได้เปรียบที่สตองดาห์ลได้มาจากสงครามของนโปเลียน ความเชื่อมั่นนี้ทำให้เฮมิงเวย์พูดถึงความจริงต่างๆ นานาอย่างขวานผ่าซากโดยปราศจากภาพลวงตาใดๆ..."
บางส่วนจาก บทนำ โดย แดนอรัญ แสงทอง
หลังจากที่เขากลับจากสงคราม บาย-ไลน์ จึงเริ่มก่อร่างสร้างตัว เฮมิงเวย์ได้งานที่ The Toronto Daily Star แบบฝึกหัดทางวรรณกรรมเริ่มต้นที่นี่!!! งานเขียนในหนังสือเล่มนี้ส่อเค้าว่าจะถูกปรับเปลี่ยนโฉมเป็นวรรณกรรมบันลือโลกอยู่รำไร มันแปลงไปเป็นนิยายเรื่อง The Sun Also Rises และ A Farewell to Arms และกลายเป็นสารคดีเล่มเขื่องอย่าง Death in the Afternoon
แม้เฮมิงเวย์จะเผชิญชีวิตโลดโผนตรากตรำ และเห็นว่ากฎเกณฑ์ของสังคมช่างโหดร้ายและหยาบกระด้าง ที่สุดท้ายผู้คนก็เพียงอิงอาศัยกันเพียงชั่วครู่ชั่วยามแต่กลับไม่ไยดีกันอย่างแท้จริง ทว่าเขากลับไม่ได้เอ่ยถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งออกมาอย่างเปิดเผยในสารคดียี่สิบเก้าชิ้นนี้ เฮมิงเวย์เพียงคิดว่า ไม่ต้องกล่าวถึงมัน ปล่อยให้คนอ่านรู้สึกถึงมันเอาเอง
ดังนั้น สิ่งที่เราจะได้เสพจากยี่สิบเก้าเรื่องในหลากหลายฉากของยุโรป จึงดูเสมือนว่าเป็นการเขียนสารคดีธรรมดา แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้ จะเห็นว่า เฮมิงเวย์ไม่เพียงมีพรสวรรค์ของนักข่าวอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเขียนเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น แต่เขายังเป็นนักเขียนที่เก่งกาจและแม่นยำในสิ่งที่เขาเล่า เพราะในงานทุกชิ้นฉายภาพชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งถูกเงาของความรุนแรงและความตายพาดบังอยู่\
- เรื่องราวการสู้วัวที่คล้ายกับละครโศกนาฏกรรมกลับมีแง่มุมของอารมณ์ความรู้สึกมนุษย์
- การเดินทางระหกระเหินของผู้อพยพที่ถ่ายทอดออกมาราวกับพวกเขายืนอยู่ตรงหน้า
- มุสโสลินีที่ดูน่าเกรงขามก็ยังกลายเป็นนักลวงโลกเพราะสายตาอันแหลมคมที่จ้องจับผิดผู้นำคนนี้
- เขาค่อนแคะชีวิตของศิลปินจอมปลอมที่เอาแต่วางมาดอยู่ในร้านกาแฟชื่อดัง
- เรื่องราวของเหล่ากษัตริย์ในยุโรปก็ถูกเหน็บแหนมและตราหน้าอย่างไม่ยี่หระ
- และมีอีก 2-3 ชิ้นที่เล่าเรื่องการตกปลาเทราท์ซึ่งรื่นรมย์ราวกับบทกวีบทหนึ่งเสมือนเป็นการผ่อนพักจากการอ่านเรื่องราวอันเข้มข้น
ซินแคลร์ ลูอิส (Sinclair Lewis) นักเขียนอเมริกันคนแรกที่ได้รางวัลโนเบลชื่นชม 'นักเขียนสองคน' ว่า สร้างงานที่มีพลังรุนแรง และเป็นงานเขียนที่ดีอย่างแท้จริง จนถึงขนาดที่ลูอิสเสียใจที่ตนเองแก่เกินกว่าที่จะทำอย่างเขาได้ โดยทั้งสองคนนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบลเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ วิลเลียม โฟล์คเนอร์ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
"นักเขียนควรจะเขียนอยู่ตลอดเวลา...เหมือนกับว่าถ้าเขียนจบเมื่อใด ก็จะตายลงเมื่อนั้น"เฮมิงเวย์ นักเขียนที่ว่ากันว่าเป็น 'ชายชาตรีอเมริกันคนสุดท้าย' กล่าวไว้
- ชื่อหนังสือ
- บาย - ไลน์ (By-Line)
- ผู้แปล
- แดนอรัญ แสงทอง Saneh Sangsuk
- บรรณาธิการ
- ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล , สิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร , เอกสิทธิ์ เทียมธรรม
- นักวาดภาพ
- จิรวัฒน์ รอดอิ่ม
- ปีที่ผลิต
- 1 กันยายน 2562
- สำนักพิมพ์
- สมมติ
- เว็บไซต์สำนักพิมพ์
- https://www.sm-thaipublishing.com/
- ISBN
- 9786165620024
- Barcode
- 9786165620024
- จำนวนหน้า
- 336 หน้า
- ขนาด
- 10.8 x 17.8 ซ.ม.
- น้ำหนัก
- 0 กรัม
- ราคา
- 350 บาท
- สถานะการขาย
- วางจำหน่ายทั่วไป
หนังสือเล่มนี้มีขายที่
- สำนักพิมพ์สมมติ (สำนักพิมพ์)111/53 หมู่บ้านบุษราคัม รีเจนท์ ซอย 8 ถนนสวนผัก 58/1 ทวีวัฒนา ศาลาธรรมสนพ์ กรุงเทพมหานคร 10170
โทร : - Email : sommadhi@gmail.com | Line@: @sommadhi_bookshop (http://bit.ly/2IYW9jh) Website : www.sm-thaipublishing.com/ - สำนักพิมพ์สมมติ (สำนักพิมพ์)111/53 หมู่บ้านบุษราคัม รีเจนท์ ซอย 8 ถนนสวนผัก 58/1 ทวีวัฒนา ศาลาธรรมสนพ์ กรุงเทพมหานคร 10170
โทร : - Email : sommadhi@gmail.com | Line@: @sommadhi_bookshop (http://bit.ly/2IYW9jh) Website : www.sm-thaipublishing.com/
แสดงความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
กรุณา LogIn เข้าสู่ระบบเพื่อทำการรีวิวหนังสือ
*** ต้องเป็นหนังสือที่มี สถานะ "อ่านแล้ว" เท่านั้น ถึงจะรีวิวได้ (เปลี่ยนสถานะที่ใต้รูปปกหนังสือ) ***
*** รีวิวได้ user ละ 1 รีวิว ต่อ 1 เล่ม ***
*** ต้องเป็นหนังสือที่มี สถานะ "อ่านแล้ว" เท่านั้น ถึงจะรีวิวได้ (เปลี่ยนสถานะที่ใต้รูปปกหนังสือ) ***
*** รีวิวได้ user ละ 1 รีวิว ต่อ 1 เล่ม ***